คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
FAQ งานสารบรรณ |
1. หนังสือภายใน ต้องใส่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ตรงหัวหนังสือ (ส่วนราชการ) หรือไม่ ตอบ ไม่ต้องใส่ ใส่แต่ชื่อส่วนราชการ และหมายเลขโทรศัพท์ 2. หากจัดทำหนังสือภายนอก ออกไปในนามกรมส่งเสริมสหกรณ์ ส่วนท้ายของหนังสือจะใส่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของสำนัก กอง หรือกลุ่มงานได้หรือไม่ ตอบ ใส่ไม่ได้ ตามระเบียบกำหนดว่าหากหนังสือออกไปในนามกรม ให้ใส่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์กลางของกรม (กรมส่งเสริมสหกรณ์ คือ 3. การใช้ไม้ยมก ไปยาลน้อย ไปยาลใหญ่ ต้องเคาะวรรคหรือไม่ ตอบ ไม้ยมก (ๆ) ให้เค้าหน้าเคาะหลัง เช่น ต่าง ๆ / ไปยาลน้อย (ฯ) ให้เคาะหลัง เช่น กรุงเทพฯ / ไปยาลใหญ่ (ฯลฯ) เคาะหน้าเคาะหลัง เช่นผลไม้ตามฤดุกาล เช่น เงาะ มังคุด ส้มโอ ฯลฯ 4. "อนุญาต" กับ "อนุมัติ" ใช้แตกต่างกันอย่างไร ตอบ "อนุญาต" คือ เรามีสิทธิ แต่ต้องขออนุญาตผู้บังคับบัญชา เช่น ขออนุญาตลาพักผ่อน "อนุมัติ" คือ เรื่องที่เกี่ยวกับการงบประมาณ เช่น ขออนุมัติไปราชการ ขออนุมัติจัดซื้อจัดจ้าง 5. ใช้ตัวย่อในเนื้อความได้หรือไม่ ตอบ ใช้ได้ แต่ต้องใส่คำเต็มในการกล่าวครั้งแรก แล้ววงเล็บตัวย่อ เมื่อกล่าวถึงครั้งต่อไปให้ใส่ตัวย่อ เช่น กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร (กพร.) ขอส่งข้อมูลให้สำนักงานเลขานุการกรม (สลก.) ตรวจสอบความถูกต้อง หากมีแก้ไข ขอให้แจ้ง กพร. ภายในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2568 หากไม่มีแก้ไข ขอให้ สลก. แจ้งยืนยันข้อมูลด้วย 6. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกรมส่งเสริมสหกรณ์ ใช้คำย่อได้หรือไม่ ตอบ เรียกว่า คำแทน ไม่ใช่คำย่อ โดยเมื่อกล่าวในครั้งแรกจะใช้คำเต็ม แต่เมื่อต้องกล่าวถึงอีกครั้งในประโยคถัดไป ให้ใช้คำแทนได้ คือ กระทรวง กรม ส่วนคำย่อ คือคำที่มีความยาว จึงเขียนโดยย่อ เช่น กรุงเทพมหานคร เขียนคำย่อเป็น กรุงเทพฯ / โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการเขียนโครงการขนาดใหญ่ เขียนคำย่อเป็น โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ 7. หน้าสุดท้ายของหนังสือ มีข้อความเฉพาะภาคสรุปได้หรือไม่ ตอบ ไม่ได้ ต้องตัดข้อความในหน้าที่อยู่ก่อนหน้าสุดท้าย อย่างน้อย 2 - 3 บรรทัดสุดท้าย ไปไว้ในหน้าสุดท้าย 8. คำว่า "ใคร่" ใช้ได้หรือไม่ ตอบ ไม่ใช้แล้ว ให้ใช้คำว่า "ประสงค์" 9. การใช้เครื่องหมาย "จุดไข่ปลา" ใช้อย่างไร ตอบ จุดไข่ปลา 2 จุด (..) ใช้เขียนไว้หลังคำว่า ฉบับที่ .. ซึ่งอยู่ในวงเล็บ สำหรับร่างกฎหมาย ร่างระเบียบ ฯลฯ เช่น ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับทที่ ..) พ.ศ. .... จุดไข่ปลา 3 จุด (...) ใช้สำหรับข้อความที่เหลือไว้ เมื่อ่านความหยุดเล็กน้อย แล้วจึงอ่านว่า "ละ ละ ละ" เช่น การพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ ... จุดไข่ปลา 4 จุด (....) ใช้เขียนหลักคำว่า พ.ศ. .... สำหรับร่างกฎหมาย ร่างระเบียบ ฯลฯ 10. การเว้นวรรคหมายเลขโทรศัพท์ เว้นวรรคอย่างไร ตอบ ใช้คำว่า "โทร" ตามด้วยจุด เว้นวรรค 1 เคาะ ตัวอย่างเช่น โทร. 0 XXXX XXXX หากใส่หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตัวอย่างเช่น โทร. 0X XXXX XXXX 11. หากต้องการส่งหนังสือผ่านทางอิเมลกรมส่งเสริมสหกรณ์ สามารถส่งได้ทางเมลใด ตอบ E-Mail : |
FAQ งานช่วยอำนวยการและประสานราชการ |
1. การค้นหารายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารกรมส่งเสริมสหกรณ์ย้อนหลังสามารถค้นหาได้จากที่ใด ตอบ เว็บไซต์กรมส่งเสริมสหกรณ์ (www.cpd.go.th) เมนู อินทราเน็ต หัวข้อ "การประชุม" เมนูย่อย "รายงานการประชุม" 2. กรณีหน่วยงานส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาคขอข้อมูลเนื้อหารายละเอียดข่าวการประชุมของผู้บริหารกรมส่งเสริมสหกรณ์ สามารถค้นหาข้อมูลและดาวน์โหลดรูปภาพได้จากที่ใด ตอบ สามารถค้นหาข้อมูลและดาวน์โหลดรูปภาพได้จาก Facebook กรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่ https://www.facebook.com/cpd.th และจากสำนัก/กอง หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนั้น ๆ |
FAQ งานตรวจราชการ |
1. การจัดทำแผนการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกรม ต้องประสานขอข้อมูลจากใคร ตอบ สามารถสอบถามได้จากผู้อำนวยการกลุ่มตรวจราชการ โทร.0 2282 0886 เบอร์ภายใน 552 2. สำนักผู้ตรวจราชการกรมส่งเสริมหสกรณ์ตั้งอยู่อาคารใด ตอบ อาคาร 1 ชั้น 6 ออกจากลิฟต์ไปทางขวา 3. ท่านใดเป็นหัวหน้าผู้ตรวจราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์ ตอบ นายสมศักดิ์ กรีธาธร |
FAQ งานประชาสัมพันธ์ |
1. กรณีหน่วยงานส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาคต้องการรูปภาพของผู้บริหารกรมส่งเสริมสหกรณ์ ขณะลงพื้นที่ตรวจราชการเพื่อติดตามงานต่าง ๆ สามารถค้นหาและดาวน์โหลดรูปภาพได้จากที่ใด ตอบ สามารถค้นหาและดาวน์โหลดรูปภาพได้จากเว็บไซต์กรมส่งเสริมสหกรณ์ หรือ Facebook กรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่ www.cpd.go.th หรือ https://www.facebook.com/cpd.th |
FAQ งานบริหารจัดการเรื่องร้องเรียน |
1. ประชาชนมีความประสงค์จะยื่นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับกรณีคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์มีมติที่ประชุมฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับและกฎหมายสหกรณ์ สมาชิกสหกรณ์ที่ได้รับความเดือดร้อนจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง ตอบ ประชาชนจะต้องยื่นคำร้องเป็นหนังสือ (ลายลักษณ์อักษร) เรียน อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ การเขียนหรือพิมพ์คำร้องเรียน/ร้องทุกข์ จะต้องระบุ วัน เดือน ปี ชื่อ-นามสกุลของผู้ร้อง ตำแหน่งเป็นสมาชิกสหกรณ์หรือมีความเกี่ยวข้องกับสหกรณ์อย่างไร และที่อยู่ที่ติดต่อได้ของผู้ร้อง ในส่วนเนื้อหาคำร้อง ควรสรุปรายละเอียดเรื่องร้องเรียน โดยบอกเล่าเรื่องราวเหตุการณ์ที่ทำให้ผู้ร้องได้รับความเดือดร้อนเสียหาย พร้อมแนบเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) และบอกวัตถุประสงค์ที่ผู้ร้องมีความประสงค์ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ช่วยในเรื่องใดบ้าง 2. ประชาชนสามารถยื่นเรื่องร้องเรียนที่ช่องทางไหนได้บ้าง ตอบ 1) ยื่นหนังสือร้องเรียน ร้องทุกข์ ณ กรมส่งเสริมสหกรณ์ 2) ส่งจดหมายทางไปรษณีย์แบบลงทะเบียน หรือ EMS โดยจ่าหน้าซองเรียน อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่อยู่ กรมส่งเสริมสหกรณ์ เลขที่ 12 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนครกรุงเทพมหานคร 10200 3) ร้องเรียนผ่านระบบรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์กรมส่งเสริมสหกรณ์ https://myapp2.cpd.go.th/complaint/ 4)ร้องเรียนผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ |
สำนักงานเลขานุการกรม อาคาร 1 ชั้น 3
กรมส่งเสริมสหกรณ์
12 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทร. 0 2281 2862 โทรสาร 0 2282 6078
E-mail :
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2566 สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมสหกรณ์
copyright All reseve 2023
รูปภาพและวีดีโอ จากเว็บไซต์ freepik.com , pixabay.com , flaticon.com , canva.com